|
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักการแพทย์
514 ถนนหลวง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพมหานคร 10100
โทร 0 2622 5047 โทรสาร 0 2224 2969 |
|
|
ผู้แทนองค์การอนามัยโลก(WHO)เข้าพบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเชิงนโยบายต่อการควบคุมวัณโรคของกรุงเทพมหานคร
Mission to Review the National TB Program Thailand
|
|
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 เวลา 10.00 น. ผู้แทนองค์การอนามัยโลก (WHO) เข้าพบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเชิงนโยบายต่อการควบคุมวัณโรคของกรุงเทพมหานคร ณ ห้องอัมรินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 (เสาชิงช้า) โดยผู้แทนองค์การอนามัยโลก ประกอบด้วยDr. Mario Raviglione, Director Global TB, WHO HQ
- Dr. Yonas Tegegn, WHO Representative to Thailand
- Dr. Paul Nunn, Team Leader of TB Review
- Dr. Chawetsan Namwat, Director, Burean of TB, MOPH
- Dr. Mukta Sharma, Technical Officer, WHO Thailand
|
|
โดยมีคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครเข้าร่วมรับฟังข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย นายแพทย์พีระพงษ์สายเชื้อ (รองปลัดกรุงเทพมหานคร) นายแพทย์สามารถ ตันอริยกุล (ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์) แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ (ผู้อำนวยการสำนักอนามัย) และผู้รับผิดชอบงานควบคุมวัณโรคของกรุงเทพมหานครเข้าร่วมรับฟังข้อเสนอแนะด้วย |
|
ผู้แทนองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ดังนี้
1. สิ่งที่กรุงเทพมหานครควรจะพัฒนาเพื่อให้งานควบคุมวัณโรคมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น ประกอบด้วย
- เร่งพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยวัณโรคของสถานพยาบาลอื่นๆที่อยู่นอกสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือเสนอตัวชี้วัดด้านการควบคุมวัณโรคเข้าไปเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในกระบวนการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (HA)
- ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลเอกชนต่างๆ โรงพยาบาลเหล่าทัพ โรงเรียนแพทย์ และระบบประกันสุขภาพ เพื่อสร้างความร่วมมือในการควบคุมวัณโรคร่วมกับชุมชน ภายในปี พ.ศ. 2514
2.
การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ (Lab) และการรายงานไปยังกระทรวงสาธารณสุข โดยกรุงเทพมหานครควรดำเนินการ ดังนี้
- ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการขยายภารงานด้านการบริหารจัดการข้อมูล Lab ของคลินิกวัณโรค อาทิ ข้อมูลผลตรวจพื้นฐานของผู้ป่วย การพัฒนาเว็บไซด์ข้อมูล ตลอดจนการบันทึกผลและการรายงานผล Lab โดยจะเริ่มในปี 2515
- ฝึกอบรมให้กับทีมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ผล และบันทึกผลได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ
3.
การพัฒนาผลการรักษา (Treatment Outcome) ซึ่งกรุงเทพมหานครควรจะ
- ลงทุน โดยการเพิ่มทรัพยากรด้านต่างๆ เพื่อจัดระบบบริการเชิงรุก โดยศูนย์บริการสาธารณสุขเครือข่ายควรประสานความร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลสังกัดต่างๆ เพื่อการติดตามผู้ป่วย โดยการกำกับการรับประทานยา(DOT)และการให้สุขศึกษา โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น วัณโรคชนิดเชื้อดื้อยา (MDR -TB) ผู้ป่วยเอดส์ ผู้สูงอายุ กลุ่มแรงงานต่างด้าว เป็นต้น และพยายามนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมบริการเพื่อการติดตามผู้ป่วยในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.
กรุงเทพมหานครควรพัฒนาการเข้าถึงระบบบริการสำหรับกลุ่มแรงงานต่างด้าว โดย
- การพัฒนายุทธศาสตร์/กลยุทธ์ในการควบคุมวัณโรคในกลุ่มแรงงานต่างด้าว
- การแยกกลุ่มแรงงานต่างด้าว โดยไปรวมกับกลุ่ม NGOs และ CBOs
- ฝึกอบรมให้กับบุคลากรโรงพยาบาลต่างๆในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นแรงงานต่างด้าว (DOWNLOAD)
|
หลังจากนั้น รองปลัดกรุงเทพมหานคร (นายแพทย์พีระพงษ์ สายเชื้อ) ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในประเด็นต่างๆ พร้อมทั้งได้แจ้งสถานการณ์ว่าขณะนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดอับดับประเทศไทยเรื่องการเจ็บป่วยด้วยโรควัณโรค เป็นอับดับที่ 18 (เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา) และหวังว่าจากการเข้าตรวจเยี่ยมเพื่อทบทวนผลการดำเนินงานตามแผนงานวัณโรค (Review the National TB Program Thailand) ระหว่างวันที่ 13 – 27 สิงหาคม 2556 ในครั้งนี้ จะส่งผลให้ประเทศไทยพ้นจาก 20 อับดับแรกของโลกที่มีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรควัณโรคต่อไป...
|
|